ประวัติความเป็นมา
|
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์ “พัฒนาสามตำบลให้เป็นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ รักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงาม ควบคุู่การบริหารจัดการที่ดี” ยุทธศาสตร์การพัฒนา 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. ยุทธศาสตร์การจัดระเบียบชุมชนและการจัดการทรัพยากร 3. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต 4. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวัฒนธรรมและนันทนาการ 5. ยุทธศาสตร์พัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน เป้าประสงค์ 1. การคมนาคมมีึความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มีระบบสาธารณุูปโภค สาธารณูปการเพียงพอ ทั่วถึง 2. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคงอยู่และใช้ประโยชน์อย่างสมดุล 3. ประชาชนมีความรู้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีรวมทั้งมีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลยาเสพติด 4. วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่สืบไป 5. การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ
|
|
สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ตั้ง ทิศเหนือ จรดตำบลเวียงคอย เทศบาลตำบลหัวสะพาน อำเภอเมืองเพชรบุรี ทิศตะวันออก จรดตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี และตำบลบ้านหาด ทิศใต้ จรดตำบลหนองกะปุ และตำบลท่าช้าง ทิศตะวันตก จรดตำบลบ้านทาน และตำบลไร่โคก เนื้อที่ มีมีเนื้อที่ประมาณ 21.08 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 13,175 ไร่ ภูมิประเทศ พื้นที่ด้านทิศตะวันออกส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและคลองชลประทานไหลผ่านตลอดแนว ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูง ทำให้สภาพพื้นที่มีความเหมาะสมในการทำการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนาและทำตาลโตนด การก่อตั้งบ้านเรือนมีลักษณะ กระจายเป็นกลุ่ม ๆ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศ ฤดูร้อน ร้อนปานกลาง อยู่ในชัยภูมิที่ฤดูฝนและน้ำหลากมีโอกาสได้รับอุทกภัย ฤดูหนาว ไม่หนาวมากนัก ลักษณะของดิน ดินส่วนใหญ่เป็นลักษณะดินเหนียว เป็นดินร่วนบางส่วน ลักษณะของแหล่งน้ำ อาศัยน้ำจากชลประทานเป็นหลัก |
การเมืองการปกครอง
เนื่องจากสภาตำบลโรงเข้ได้ยกฐานะเป็น อบต.โรงเข้ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 และยุบสภาตำบลลาดโพธิ์ และสภาตำบลสะพานไกรเข้าร่วมกับอบต.โรงเข้ วันที่ 29 กันยายน 2547 องค์การบริหารส่วนตำบลโรงเข้มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลโรงเข้ ตำบลลาดโพธิ์ และตำบลสะพานไกร ดังคำขวัญ "วัดดอนกอกคู่บ้าน ตำนานนามวังบัว เขตวัวนางเลิ้ง รื่นเริงเพลงปรบไก่ ตักบาตรดอกไม้ประเพณี พื้นที่สามตำบล ยลตาลโตนดสูงสุด" มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโรงเข้เต็มทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลโรงเข้ 1. หมู่ที่ 1 บ้านหนองกาทอง 2. หมู่ที่ 2 บ้านนาฉอก 3. หมู่ที่ 3 บ้านดอนแจง 4. หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ 5. หมู่ที่ 5 บ้านหัวโรง ตำบลลาดโพธิ์ 1. หมู่ที่ 1 บ้านวังบัว 2. หมู่ที่ 2 บ้านดอนข่อย – ไร่คา 3. หมู่ที่ 3 บ้านลาดโพธิ์ 4. หมู่ที่ 4 บ้านเหมืองหาม ตำบลสะพานไกร 1. หมู่ที่ 1 บ้านท้ายหลวง 2. หมู่ที่ 2 บ้านสะพานไกร 3. หมู่ที่ 3 บ้านดอนโตนด |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอาชีพ เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม จึงมีความเหมาะสมในการทำการเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นการทำนา และมีบางส่วนที่ทำไร่ ทำสวนและปลูกผัก สำหรับการทำนาส่วนใหญ่สามารถทำได้ปีละ 2 ครั้ง หากชลประทานเปิดน้ำซึ่งอาศัยน้ำจากชลประทานเป็นหลัก หลังฤดูกาลทำนาจะปลูกพืชไร่และพืชผักสวนครัว ในด้านการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด และไก่ ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงสำหรับบริโภคและใช้งาน และขายทำรายได้บ้างพอสมควร นอกจากนี้ยังมีบ้างที่ทำน้ำตาลโตนด รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการแต่ไม่มากนัก กลุ่มอาชีพ - กลุ่มทำน้ำตาลโตนด
|
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
การศึกษา 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดหนองกาทอง (ได้รับถ่ายโอนจาก สปช.) - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดหว้า (ได้รับถ่ายโอนจาก สปช.) - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดดอนกอก (ได้รับถ่ายโอนจาก สปช.)
2. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ - โรงเรียนวัดดอนกอก - โรงเรียนวัดหว้า - โรงเรียนบ้านลาดโพธิ์ - โรงเรียนวัดหนองกาทอง 3. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 12 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด จำนวน 4 วัด ได้แก่ วัดวังบัว วัดดอนกอก วัดหนองกาทอง วัดดอนหว้า ประเพณีและงานประจำปี ประเพณีการหาบสลากภัตร ประเพณีเพลงปรบไก่ ภาษาถิ่น ภาษาถิ่นบ้านลาด |
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ
การสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง ได้แก่ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโรงเข้ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดโพธิ์ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไกร อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ในเขตความรับผิดชอบของ สภอ.บ้านลาด การคมนาคม มีถนนลาดยางของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท เป็นเส้นทางสัญจรไปสู่ตำบลและอำเภออื่น และมีถนน คสม. / คสล. /ลาดยาง เป็นถนนภายในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน จำนวน 12 หมู่บ้าน แหล่งน้ำ มีลำน้ำ ลำห้วย คลองชลประทาน ประปาหมู่บ้าน ประปาส่วนภูมิภาค
|